HPV

Human Papilloma Virus (HPV) and Cervical Carcinogenesis

นส.ภ. ธีรดนย์ พลค้อ
56010710067 ชั้นปีที่ 2  
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Human Papilloma Virus (HPV) คืออะไร ?
เชื้อ Human Papilloma Virus (HPVs) เป็น D-virus จากตระกูล papillomavirus ซึ่งสามารถทำให้ติดเชื้อในคนบริเวณ keratinocytes ของผิวหนัง หรือ mucous membrane ได้ โดยส่วนมากจะเป็นการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ แต่ในบางกรณีก็สามารถแสดงอาการและอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิด benign papillomas เช่น หูด ได้ ซึ่งการเกิดโรคหูด มีโอกาสเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งได้

การจำแนกชนิดของเชื้อ Human Papilloma Virus (HPV)

Disease
HPV type
Common warts
2, 7, 22
Plantar warts
1, 2, 4, 63
Flat warts
3, 10, 8
Anogenital warts
6, 11, 42, 44 and others
Anal dysplasia (lesions)
6, 16, 18, 31, 53, 58
Genital cancers
 - Highest risk : 16, 18, 31, 45
- Other high-risk : 33, 35, 39, 51, 52, 56, 58,   
                       59
- Probably high-risk : 26, 53, 66, 68, 73, 82
Epidermodysplasia  verruciformis
more than 15 types
Focal epithelial hyperplasia(oral)
13, 32
Oral papillomas
6, 7, 11, 16, 32
Oropharyngeal cancer
16
Verrucous cyst
60
Laryngeal papillomatosis
6, 11

Table 1. Human papillomavirus types and clinical manifestationsa
ที่มา : Daniel Tena Gómez and Juana López Santos, Communicating Current Research and Educational Topics and Trends in Applied Microbiology A. Méndez-Vilas (Ed.). Page 681 (2007)


Cervical Carcinogenesis (มะเร็งปากมดลูก)

                มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในสตรีทั่วโลกรองลงมาจากมะเร็งเต้านม แต่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของสตรีเป็นอันดับที่ 3 ในการเสียชีวิตจากมะเร็งของสตรีทั่วโลกรองลงมาจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งปอด ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ 530,000 คน ซึ่งประมาณร้อยละ 85 อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา ในจำนวนผู้ป่วยรายใหม่นี้จะเสียชีวิตครึ่งหนึ่ง คือประมาณ 275,000 คน ซึ่งร้อยละ 88 อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาเช่นกัน

สาเหตุและการดำเนินของโรค

    1) ติดเชื้อ HPV ชนิด 16 และ 18 เป็น high type ที่เยื่อบุผิวปากมดลูกบริเวณเขตเซลล์แปรรูป                           ( transformation zone) ที่เซลล์ชั้นล่างหรือ basal cells

    2) เชื้อ HPV จะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากได้หลายพันสำเนาใน 1 เซลล์      

    3) มีการสร้างโปรตีนเข้าไปจับกับสารพันธุกรรมของเซลล์ที่มีการติดเชื้อ เช่น โปรตีน E 6 และ E 7  ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำให้เกิดมะเร็ง ( oncoprotein )  โดย E 6 ยับยั้งการทำงานของ p 53 ซึ่งเป็น tumor suppressor gene และกระตุ้น telomerase activity ทำให้เซลล์ไม่ตายตามกำหนด ส่วน E 7 จะจับกับ retinoblastoma ( Rb ) genes ซึ่งเป็น tumor suppressor gene ทำให้ไม่สามารถควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ได้ เซลล์จึงแบ่งตัวไม่หยุด
( proliferation )


Picture 1 Cervical Cancer                                                                                                                           
              ที่มา: http://www.oncohealthcorp.com/technology.html (2013)


การป้องกัน HPV

           ในขณะนี้วัคซีน HPV มี 2 ชนิด คือ
-          Quadrivalent vaccine (ชนิดไวรัส 4 สายพันธุ์ คือ 6, 11, 16 และ 18)
-          Bivalent vaccine (ชนิดไวรัส 2 สายพันธุ์ คือ 16 และ 18)
แต่ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก
เกิดจากสองสายพันธุ์ นั่นคือ สายพันธุ์ 16 และ18 ดังนั้นสำหรับการเลือกวัคซีนเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกจึงสามารถเลือกใช้ได้ทั้งสองชนิด ซึ่งประสิทธิภาพของวัคซีนจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ18 ได้ประมาณร้อยละ 90-100 ในผู้ที่ยังไม่เคยติดเชื้อมาก่อน สำหรับผู้ที่มีการติดเชื้อแล้ววัคซีนไม่สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคได้
ความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อจะเกิดขึ้นภายใน 1 เดือน หลังจากได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม ส่วนระยะเวลาในการป้องกันโรคของวัคซีนยังคงต้องติดตามผลต่อไป เนื่องจากวัคซีนยังไม่มีข้อมูลประสิทธิผลของวัคซีนยาวเกินกว่า 10 ปี และเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการฉีดวัคซีน HPV ควรได้รับวัคซีนตั้งแต่ยังไม่ติดเชื้อ HPV นั่นคือ ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ซึ่งวัคซีนนี้สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 – 26 ปี

ข้อควรระวัง
วัคซีนไม่แนะนำให้ฉีดในหญิงตั้งครรภ์ และไม่ควรฉีดในผู้ที่แพ้วัคซีนและส่วนประกอบในวัคซีน
อาการข้างเคียง
สามารถพบอาการปวด บวม แดง คัน บริเวณที่ฉีดวัคซีนและอาจมีไข้ได้ 
ความคุ้มค่า
วัคซีน HPV สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ แต่เนื่องจากวัคซีนมีราคาค่อนข้างสูง
(เมื่อเปรียบเทียบกับวัคซีนชนิดอื่นๆที่ใช้ในการป้องกันโรค) ดังนั้น การเลือกใช้จึงขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์ของ
แต่ละบุคคลด้วย
ข้อควรรู้
วัคซีน HPV มีความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อ HPV เฉพาะสายพันธุ์ที่ทำวัคซีนเท่านั้น ส่วนสายพันธุ์อื่นๆ อาจป้องกันได้บ้าง
ผลในการป้องกันการติดเชื้อจะได้ผลเต็มที่ต่อเมื่อยังไม่เคยได้รับเชื้อ HPV มาก่อน
ถึงแม้จะได้รับวัคซีนป้องกันแล้ว แต่การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ก็ยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากวัคซีนไม่สามารถป้องการการติดเชื้อได้อย่างสมบูรณ์
ราคาวัคซีน
            ราคาเริ่มต้นจะอยู่ 2,100 ต่อเข็ม  (สภากาชาดไทย : 5/06/2015)


บรรณนานุกรม (reference)

วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ :บรรณาธิการ และคณะ. HPV-RELATED DISEASES AND HPV VACCINES.
          พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554. 340 หน้า
รองศาสตราจารย์ ดร.ชะอรสิน สุขศรีวงศ์, บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน:ความรู้เรื่องวัคซีน HPV
(Human Papilomavirus Vaccine) [internet] ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2556 [cited 27.05.2558] Available from:
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/173/ความรู้เรื่องวัคซีน HPV %28HumanPapilomavirusVaccine%29/
สภากาชาดไทย , บริการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส HPV [internet] [cited 27.05.2558]

1 ความคิดเห็น: