วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัดบทที่ 8 : การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

แบบฝึกหัด

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม                     กลุ่มที่เรียน 4 
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                  รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ –สกุล นายธีรดนย์ พลค้อ 2PD                                            รหัส 56010710067

คำชี้แจง จงพิจารณากรณีศึกษานี้

1) “นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่ เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง” การกระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมาย ใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย

ตอบ เป็นการกระทำที่ผิด เพราะโปรแกรมนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการทดลองวิจัยเท่านั้น ไม่ได้มีการเผยแพร่ให้ใช้งานจริง ขณะเดียวกันคนที่นำไปใช้คือนาย B ซึ่งไม่ได้รับการเห็นชอบของนาย A ผู้พัฒนา โดยนำไปแกล้งนางสาว C ความผิดนี้ ถือเป็นการขโมยทรัพย์สินทางปัญญาและการนำโปรแกรมในการทดลองไปใช้จริง
                 ต่อมานางสาว C ก็ถือว่ามีความผิด ที่เผยแพร่โปรแกรมทดลองนี้ต่อไปอีก เป็นการกระจายโปรแกรมออกไปอีก ซึ่งในทางจริยธรรมแล้ว นาย B เป็นคนผิดที่เริ่มนำโปรแกรมไปใช้ก่อน นางสาว C รู้เท่าไม่ถึงการณ์จึงเผยแพร่โปรแกรมออกนั่นเอง ทำให้ผิดจริยธรรมเพราะการสร้างโปรแกรมขึ้นมาแล้วใช้แกล้งคนอื่นโดยไม่เกิดประโยชน์และทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหายก่อกวนระบบถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและผิดจริยธรรม


2) “นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน อ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้ง รูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียน ในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J” การ กระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย


ตอบ การกระทำของนาย J ผิดจริยธรรมตรงที่ทำข้อมูลเท็จหลอกลวงผู้อื่น เป็นการกระทำที่ขาดการยั้งคิด ทำโดยคิดถึงแต่ความสนุกสนานของตนไม่นึกถึงผลที่ตามมา ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบต่อเด็กชาย K ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่ได้มีการวิเคราะห์สารที่ได้รับมาก่อน ทำให้ทำงานส่งครูไปแบบผิดๆ การกระทำนี้จึงผิดทั้งสองคน โดยนาย J ที่ทำโดยไม่ยั้งคิด สร้างความเดือนร้อนให้ผู้อื่น เห็นแก่ตัว ส่วนเด็กชาย K นั้นก็ผิดที่ไม่ได้วิเคราะห์สารที่ได้รับหรือค้นคว้าหาข้อมูลให้ดี จึงถือว่าเด็กชาย K ทำงานโดยสะเพร่าขาดความรอบคอบและไม่รู้จักใช้วิจารณญาณหรือความรู้รอบตัวให้ดีพอส่งผลให้ตนเดือดร้อนทำงานผิดไปส่งครูนั่นเอง  เพราะหากเด็กชาย K หาข้อมูลจากเว็บไซต์หรือเอกสารอื่นๆเพิ่มเติมก็จะส่งผลให้เกิดข้อแตกต่างและรู้จักสืบค้นหาความข้อเท็จจริงได้ในที่สุด

แบบฝึกหัดบทที่ 7 : ความปลอดภัยของสารสนเทศ

แบบฝึกหัด

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ                                       กลุ่มที่เรียน 4 
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                  รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ –สกุล นายธีรดนย์ พลค้อ 2PD                                            รหัส 56010710067


คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Firewall) คือ
ตอบ รูปแบบของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ที่ถูกจัดตั้งอยู่บนเครือข่ายเพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายภายใน (Internet) โดยป้องกันผู้บุกรุก (Intrusion) ที่มาจากเครือข่ายภายนอก (Internet) หรือเป็นการกำหนดนโยบายการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย โดยสามารถกระทำได้โดยวิธีแตกต่างกันไป แล้วแต่ระบบ

2. จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm , virus computer, spy ware, adware มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม
ตอบ    Virus computer: โปรแกรมคอมพิวเตอร์ปรือชุดคำสั่ง ที่มนุษย์เขียนขึ้นมามีวัตถุประสงค์เพื่อรบกวนการทำงานหรือทำลายข้อมูล รวมถึงแฟ้มข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ลักษณะการติดต่อของไวรัสคอมพิวเตอร์ คือไวรัสจะนำพาตังเองไปติด (Attach) กับโปรแกรมดังกล่าวก็เป็นเสมือนโปรแกรมพาหะในกำนำพาไวรัสแพร่กระจายไปยังโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ หรือแม้กระทั่งแพร่กระจายในระบบเครือข่ายต่อไป
          Worm: หมายถึงโปรแกรมซึ่งเป็นอิสระจากโปรแกรมอื่น ๆ โดยจะแพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ที่อยู่บนเครือข่ายการแพร่กระจายจะคล้ายกับตัวหนอนที่เจาะไซหรือซอกซอนไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ และแพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอก (Copy) ตนเองออกและส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไป

3. ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
ตอบ ไวรัสตอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นสองชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่ Application viruses และ System viruses
              1) Application viruses จะมีผลหรือมีการแพร่กระจายไปยังโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ อาทิเช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processeng) หรือโปรแกรมตารางคำนวณ เป็นต้น การตรวจสอบการติดเชื่อไวรัสชนิดนี้ทำได้โดยดูจากขนาดของแฟ้ม (File size) ว่ามีขนาดเปลี่ยนไปจากเดิมมาน้อยแค่ไหน ถ้าแฟ้มมีขนาดโตขึ้น นั่นหมายถึงแฟ้มดังกล่าวอาจได้รับการติดเชื้อจากไวรัสชนิดนี้แล้ว
              2) System viruses ไวรัสชนิดนี้จะติดหรือแพร่กระจายในโปรแกรมจำพวกระบบปฏิบัติการOperating systems) หรือโปรแกรมระบบอื่น ๆ โดยไวรัสชนิดนี้มักจะแพร่เชื้อในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

4. ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ    1.สร้างแผ่นบูต emergency disk เพื่อใช้ช่วยในการกู้ระบบ การสร้างแผ่น emergency disk
หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Rescure disk นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเครื่องติดไวรัสที่ไม่สามารถ
จะกำจัดได้โดยผ่านระบบปฏิบัติการวินโดวส์ หรือผลกระทบของไวรัสที่ทำให้เครื่องไม่สามารถบูต
ได้ตามปกติเราก็สามารถใช้แผ่น emergency diskมาช่วยในการกู้ข้อมูลและกำจัดไวรัสออกจนทำ
ให้บูตเครื่องได้ตามปกติ
         2.ปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสทุกวันหรืออย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ขั้นตอนนี้เปรียบเสมือนหัวใจ
ของการใช้งานโปรแกรมป้องกันไวรัส เนื่องจากไวรัสคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาออกมาใหม่ทุกวัน
ดังนั้นจึงควรที่จะสอนโปรแกรมป้องกันไวรัสให้รู้จักไวรัสชนิดใหม่ๆด้วย โดยการปรับปรุงฐานข้อมูล
ไวรัสที่ใช้งานนั่นเอง
         3.เปิดใช้งาน auto - protect โดยส่วนใหญ่โปรแกรมป้องกันไวรัสที่ติดตั้งจะทำการสร้าง
โพรเซสที่จะตรวจหาไวรัสตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสสามารถถูกเอ็กซิคิวต์ในเครื่องได้
         4.ก่อนเปิดไฟล์จากแผ่นที่นำมาใช้จากที่อื่นให้สแกนหาไวรัสก่อน แผ่นดิสก์ที่นำไปใช้ที่อื่นแล้ว
นำกลับมาเปิดที่เครื่อง จะมั่นใจได้อย่างไรว่าแผ่นนั้นไม่มีไวรัสอยู่ ดังนั้นควรจะตรวจหาไวรัสใน
แผ่นก่อนที่จะเปิดอ่านข้อมูลที่ถูกบรรจุในแผ่นดิสก์ดังกล่าว
         5.ทำการตรวจหาไวรัสทุกสัปดาห์ ในแต่ละสัปดาห์แน่นอนว่ามีไฟล์ที่ผ่านเข้าออกเครื่องมาก
มายไม่ว่าจะเป็น อี-เมล์ที่ได้รับ ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ต ตลอดจนไฟล์ชั่วคราวของ
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่เก็บในแต่ละครั้งที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ แล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าไฟล์เหล่า
นั้นไม่มีไวรัสแฝงตัวมา ดังนั้นจึงควรที่จะทำการตรวจหาไวรัส โดยการสแกนหาทั้งระบบ อาจจะเป็น
ทุกเย็นของวันศุกร์ก่อนกลับบ้านก็เป็นได้

5. มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่
ตอบ    1) ICT Gate Keeper เฝ้าระวังพิษภัยอินเทอร์เน็ตบนเครือข่ายและวงจรเชื่อมต่อระหว่างประเทศ(Gateway) พัฒนาซอฟต์แวร์นี้โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงไอซีที ได้มอบหมายให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ดำเนินการเพื่อเฝ้าระวังปิดกั้นข้อมูบไม่เหมาะสมตั้งแต่ต้นทาง
          2) House Keeper ซึ่งจัดทำเป็นแผ่นซีดีรอม และแจกฟรีให้กับผู้ปกครองหรือดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บไซต์ของกระทรวง โปรแกรมนี้จะมี 3 ส่วน
                     - ส่วนแรก คิดดี้แคร์ ปิดกั้นเว็บไซต์อนาจารและเว็บที่ไม่เหมาะสมที่กระทรวงไอซีที มีข้อมูลคาดว่าจะช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง
                     - ต่อมาเป็นส่วนพีเพิลคลีน ติดไอคอนไวที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะคลิกเข้าไปเมื่อพบภาพลามกอนาจาร ประชาชนจึงสามารถเข้ามามีบทบาทช่วยเฝ้าระวังภัยได้เช่นกัน

                     - ส่วนสุดท้าย สมาร์ทเกมเมอร์ (Smart Gamer) แก้ปัญหาการติดแกม และควบคุมการเล่นเกมของเด็ก ๆ ผู้ปกครองจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาของการเล่นเกมและช่วยดูแลเรื่องความรุนแรงของเกม แต่ละส่วนนี้คงต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา

แบบฝึกหัดบทที่ 6 : การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน

แบบฝึกหัด

บทที่การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน                        กลุ่มที่เรียน 4 
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                  รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ –สกุล นายธีรดนย์ พลค้อ 2PD                                            รหัส 56010710067

คำชี้แจง เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด?
    1. เทคโนโลยีสารสนเทศ        2. เทศโนโลยี             3. สารสนเทศ             4. พัฒนาการ

2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?
   1. ควบคุมเครื่องปรับอากาศ                        2. ระบบการเรียนการสอนทางไกล
   3. การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน               4. การพยากรณ์อากาศ

3. การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม (ATM) เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?
   1. ระบบอัตโนมัติ
   2. เปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
   3. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
   4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

4. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?
   1. ระบบการโอนถ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์         2. บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต
   3. การติดต่อข้อมูลทางเครือข่าย                    4. ถูกทุกข้อ
5. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?
   1. การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
   2. ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
   3. การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ
   4. การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล

6. เครื่องมือที่สำคัญในการในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
    1. เทคโนโลยีการสื่อสาร        2. สารสนเทศ              3. คอมพิวเตอร์            4. ถูกทุกข้อ

7. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
   1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
   2. เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน หรือสอบถามผลสอบได้
   3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้บุคคลทุกระดับติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
   4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ

8. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?
   1. เครื่องถ่ายเอกสาร             2. เครื่องโทรสาร          3. เครื่องมินิคอมพิวเตอร์            4. โทรทัศน์ วิทยุ

9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ?
   1. เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานธุรกิจ
   2. พัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และการสื่อสาร
   3. ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
   4. จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น

10. ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?
      1. ตรวจสอบผลการลงทะเบียน ผลการสอบได้
      2. สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ทั่วโลกได้
      3. ติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ครู อาจารย์ หรือส่งงานได้ทุกที่
      4. ถูกทุกข้อ





แบบฝึกหัดบทที่ 5 : การจัดการสารสนเทศ

แบบฝึกหัด

บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ                                                 กลุ่มที่เรียน 4 
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                  รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ –สกุล นายธีรดนย์ พลค้อ 2PD                                            รหัส 56010710067


คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้

       1.         จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ

ตอบ  การจัดการสารสนเทศ ความหมายถึง การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือ กลยุทธ์ระดับองค์การในการจัดการสารสนเทศ

      2.         การจัดการสารสนเทศมีความสําคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร

ตอบ  การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพ ต่างๆ การจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ โดยการจัดทำฐานข้อมูลส่วนบุคคล รวบรวมทั้งข้อมูลการดำรงชีวิต การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพต่างๆ

      3.         พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง

ตอบ  แบ่งอย่างกว้างๆได้เป็น 2 ยุค
1. การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ
2. การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์
     4.       จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

ตอบ    1. หนังสือ คู่มือ ตำรา
         2. ฐานข้อมูลออนไลน์
         3. ห้องสมุด

      

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัดบทที่ 4 : เทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัด
บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ                                                             กลุ่มที่เรียน 4
รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจาวัน                          รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ –สกุล นายธีรดนย์ พลค้อ       2PD                                           รหัส 56010710067

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้

     1.  ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน

  1)      การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล   
          -   ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศเทปแม่เหล็ก, บัตรเอทีเอ็ม

  2)      การแสดงผล
          - เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์

  3)      การประมวลผล 
          - เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์, เครื่องทำบัญชี (Accounting Machine) และเครื่องที่ใช้ในการประมวลผลทั่วไปเป็นเครื่องกึ่งอิเล็กทรอนิกส์ (Unit Record)         

  4)      การสื่อสารและเครือข่าย
          - ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง,อินเทอร์เน็ต (Internet)

2.      ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความที่สัมพันธ์กัน

8 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
1. ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูล
3 Information Technology
2. e-Revenue
1 คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
3. เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
6 เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
4.มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ Sender Medium และDecoder
10 ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการททำงาน
5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย
7 ซอฟต์แวร์ระบบ
6. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
9 การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดีย ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ
7. โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
5 EDI
8. โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภท
4 การสื่อสารโทรคมนาคม
9. CAI
2 บริการชำระภาษีออนไลน์
10. ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ




แบบฝึกหัดบทที่ 3 : การรู้สารสนเทศ

แบบฝึกหัด
บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ                                                                   กลุ่มที่เรียน 4
รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจาวัน                          รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ –สกุล นายธีรดนย์ พลค้อ       2PD                                           รหัส 56010710067

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ
ก. ความสามารถในการกลั่นกลอง และประเมินค่าสารสนเทศที่หามาได้
ข. ความสามารถในการตัดสินใจใช้สารสนเทศรูปแบบต่างๆ
ค. ความสามารถของบุคคลในการสืบค้นและพัฒนาสารสนเทศ
ง. ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ

2. จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด
ก. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
ข. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
ค. ความสามารถในการประมวลผลสารสนเทศ
ง. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
ก. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ข. สามารถใช้สารสนเทศในการดำเนินชีวิต
ค. ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม
ง. ใช้คอมพิวเตอร์ในการแสวงหาสารสนเทศได้

4.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
ก.  โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเน้นวัตถุนิยมมากขึ้น
ข.  ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
ค.  สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง
ง.   ช่วยบุคคลเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต


5. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
1. ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ          
2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
3. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ   
5. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ

 ก. 1-2-3-4-5                 ข. 2-4-5-3-1              ค. 5-4-1-2-3              ง. 4-3-5-1-2





File : แบบฝึกหัดบทที่ 3.pdf